White Hot and Abercrombie & Fitch ที่ใส่ทุกอย่างที่เป็นข้อมูลของแบรนด์เสื้อผ้านี้ ที่ไม่ว่าใครที่เป็นสนใจแฟชั่น มองว่าการแต่งตัวไม่ใช่เพียงแค่นำเสื้อผ้ามาสวมใส่เพียงเท่านั้น แต่สิ่งที่สารคดี หรือ documentarty นี้ต้องการบอกผ่านยี่ห้อเสื้อผ้านี้คือ สามารถสื่อสาร บอกผ่าน และซึมซับได้เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นไม่ว่าจะเป็น ความต้องการภายในลึกๆ รสนิยม หรือความชอบ รวมถึงการสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนใส่ เมื่อได้สวมใส่เสื้อผ้ายี่ห้อนี้แล้ว หรือไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อไหนก็ตาม ที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวเราผ่านเสื้อผ้าและโลโก้นั้น
ในหนังเป็นการดึงเอาทั้งพนักงานในร้านขายปลีกเสื้อผ้ายี่ห้อนี้ รวมถึงฝ่ายบริหารในส่วนสำนักงาน และผู้ที่ทำหน้าที่คัดเลือกพนักงานให้เป็นตัวแทนของสินค้าเสื้อผ้านี้ ไม่ว่าจะเป็นนายแบบ หรือพนักงานขายในร้าน ทั้งหมดที่สื่อสารไปถึงลูกค้าผ่านแบรนด์เสื้อผ้านี้ เกิดจากการวางแผนเป็นอย่างดี ทั้งดีไซน์เสื้อผ้า รูปแบบร้าน จุดมมุมมองของร้านผ่านสายตาลูกค้า และการตอบสนองของพนักงานขายไปถึงลูกค้า เพื่อให้ทั้งหมดเป็นภาพลักษณ์ ที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้
ความมั่นใจ และการเติมเต็มที่ White Hot and Abercrombie & Fitch มอบให้
ทุกแบรนด์เสื้อผ้าที่หากมาจากบริษัทแม่จากเมืองนอกแล้ว ไม่ว่าจะไปตั้งสาขาที่ไหนก็ตาม จะต้องมีการจัดการที่เหมือนกันทั่วโลก โดยเฉพาะในส่วนของร้านค้าปลีก ที่ถือว่าเป็นสถานที่สัมผัสกับลูกค้าโดยตรง ไม่ต่างไปจากพนักงานขาย ที่ทางฝ่ายสรรหาพนักงานของ A&F ยืนยันมาให้ได้รู้และเข้าใจเหมือนกันคือ เราจะคัดเลือกเฉพาะคนหน้าตา และรูปร่างดีเท่านั้น เพื่อให้เข้ามาทำงานกับทางเรา ตรงนี้รวมถึงทั้งฝ่ายที่ติดต่อกับลูกค้า และส่วนสำนักงานด้วย เพราะถือว่าเป็นธุรกิจขายฝัน ซึ่งสินค้าอาจจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่มองเห็นเป็นรูปธรรมก็ตาม
แต่เชื่อหรือไม่ว่าแบรนด์เสื้อผ้านี้ ที่เราเห็นว่าสินค้าหลักคือเสื้อผ้า แต่โฆษณาไม่ว่าจะเป็นทางไหนก็ตาม เน้นการโชว์รูปร่าง และไม่ใส่เสื้อผ้า ซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่ตัวเองขาย แต่เป็นการบอกให้รู้ และเน้นคำว่าโก้เก๋ว่าไม่จำเป็นต้องมองเห็นเพียงอย่างเดียว ความหมายนั้นอาจรวมถึงความรู้สึกของทั้งคนที่มองเห็นรูปแบบเสื้อผ้า และคนใส่เสื้อผ้ายี่ห้อนี้ด้วย ว่าเป็นการออกแบบที่ไม่เน้นความเยอะ หรือเว่อร์อลังการ แต่เป็นแนวเฉพาะของแบรนด์ ที่ใครเห็นต้องจำได้ และอยู่กึ่งกลางระหว่าง ความหรูหราแต่จับต้องได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์แบรนด์เสื้อผ้า เป็นการจัดตำแหน่งของตัวเองให้อยู่ระหว่าง Calvin Klein ที่หรูหรา และราคาแพง กับความดูดี และจับต้องได้อย่าง Ralph Lauren
สร้างการจดจำ และเอกลักษณ์เพื่อให้ไม่โดนลืม
เราคงจำความรู้สึกเวลาไปร้านเสื้อผ้าแบรนดเนมระดับสาขาทั่วโลก ที่มีการสร้างความรู้สึกของการเข้าร้านให้มีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นโคโลญจน์ของแบรนด์เสื้อผ้าตัวเอง ตั้งแต่ก่อนที่จะเข้าไปในร้าน ที่ในวันนี้หาน้อยมาที่แบรนด์เสื้อผ้าระดับแนวสตรีทแวร์ จะไม่มีน้ำหอม หรือโคโลญจน์ในแบรนด์ของตัวเองด้วย
รวมถึงการบริการของตัวพนักงาน ที่หลายคนยอมรับว่า มีการต้อนรับพนักงานในสไตล์แบบตัวของตัวเอง เอนไปทางไม่สน ไม่แคร์จนมีการนำไปล้อเลียนกันในเมืองนอกแบบหยอกๆ เพราะเราต้องยอมรับอยู่อย่างว่า แบรนด์เสื้อผ้านี้จับกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นช่วงวัยรุ่น ซึ่งการแสดงออก ท่าทางของพนักงานขายเพื่อให้เข้ากันได้กับลูกค้าวัยที่มีจำนวนการซื้อเป็นหลัก
เราคงจะเห็นแล้วว่าในสินค้าไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า หรือแม้แต่อาหารก็ตาม ถึงแม้จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่มองเห็น และรู้ว่าการใช้งานว่าสำหรับอะไร แต่ในความหมายที่ลึกซึ้งกว่านั้น คือสิ่งที่ สารคดีเรื่องนี้ต้องการสื่อ เหมือนกับสิ่งที่บอกว่า แบรนด์เสื้อผ้าแต่เรากลับเห็นนายแบบไม่ใส่เสื้อผ้า
เพราะความต้องการ และการเสริมความเป็นตัวของตัวเองให้กลับลูกค้า กลับเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่า การมองเห็นว่าเสื้อตัวนี้สีอะไร มีกระเป๋าข้างไหน หรือแม้แต่เรื่องราคาก็ตาม สำหรับลูกค้าบางคนไม่ได้มีความหมายเท่ากับ เมื่อใส่แบรนด์เสื้อผ้านี้แล้ว รู้สึกมีพลัง และสามารถมีพลังในการต่อสู้กับอุปสรรคตรงหน้าได้ นั่นแหละคือเป้าหมายของการทำการตลาดของสินค้าหลายตัว ที่ไม่ได้มีเฉพาะเสื้อผ้าเพียงเท่านั้น